วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนากระบวนการเชิงนวัตกรรมและบูรณาการ


คำนำ
กระบวนการพัฒนาปรับปรุงเชิงนวัตกรรม ในการเปลี่ยนแปลงองค์การ (organizational change) มีความหลากหลายทั้งในด้านหลักการพื้นฐาน มุมมอง กฎ ระเบียบ และวิธีการ การศึกษาแนวนวัตกรรมองค์การ (organizational renewal) ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลแนวคิดนิเวศย์วิทยาประชาการ (population ecology) ต้องเน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์การคล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม การศึกษาการพัฒนาองค์การแนวดั้งเดิม (Traditional OD) ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดการเปลี่ยนแปลงตามแผน (planned change) มุ่งการประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์เพื่อบำบัดรักษาสุขภาพ (therapy) และปรับองค์การให้มีประสิทธิผล และการศึกษาการพัฒนาองค์การแนวใหม่ (organizational transformation) เน้นการเปลี่ยนสภาพองค์การให้มีความสามารถเรียนรู้และปรับตัวไปสู่คุณภาพใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของคนและองค์การ ผลที่ตามมาคือ มีการนำเสนอการเปลี่ยนแปลงองค์การหลากหลายจุดมุ่งหมายและรูปแบบ การเลือกใช้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับโลกความจริง
คู่มือกระบวนการนี้ มีการพัฒนาปรับปรุงเชิงนวัตกรรม/เชิงบูรณาการ โดยได้ทบทวนพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับแนวคิด และรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงองค์การให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุดมีข้อเสนอของการเปลี่ยนแปลงองค์การจากคณะกรรมการ ติดตาม กำกับดูแล และคณะทำงานพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ถึงกรอบวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงองค์การที่เน้นการบูรณาการระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลง (change process) และพฤติกรรมองค์การ (organizational behavior) และประการสุดท้ายคือการเสนอแนะแนวบรรทัดฐาน (normative guides) ที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้เป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ  ดังนั้นคณะกรรมการฯ/คณะทำงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระบวนนี้จะเป็นนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาองค์การ ต่อไป
                  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น